กรมส่งเสริมการเกษตรได้อนุมัติให้ นายกิตติพันธ์ จันทาศรี ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ พร้อมด้วย นายธรรมนูญ ธิดา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนางสาวนุช พุกไชยนาม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เดินทางไปราชการติดตามงานโครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ จังหวัดปัตตานี ระหว่างวันที่ 10 – 11 สิงหาคม 2558 ดังนี้
[/vc_column_text][vc_gallery type=”nivo” interval=”3″ images=”752,751,750,749,748,747,746,745,744,743,742,741,740,739,738″ onclick=”link_image” custom_links_target=”_self” img_size=”550×410″][vc_column_text]- นางสุดทิดา เจ๊ะเล็ง หัวหน้ากลุ่มพัฒนาเกษตรกร นายจารึก ยอดนุ้ย หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ นางสาวรัฐพร พรหมแก้ว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการฯ และผู้เกี่ยวข้อง ได้นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2558 ดังนี้
1.1 กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าพืชประจำถิ่น ได้ดำเนินการอบรมเกษตรกรตามประเด็นการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต เกษตรกรผ่านการอบรม จำนวน 236 ราย
ประเด็นถ่ายทอดความรู้
– การจัดทำมาตรฐานการผลิตส้มโอครบวงจรคุณภาพ
– การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตส้มโอครบวงจรคุณภาพ
– การบริหารจัดการสวนส้มโอตามมารฐานการผลิตส้มโอครบวงจรคุณภาพ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
– เกษตรกรที่ผ่านการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการควบคุมคุณภาพผลผลิตส้มโอ
– สามารถผลิตและสร้างเครือข่ายส้มโอครบวงจรคุณภาพได้เพิ่มขึ้น
– เกษตรกรสารมารถจำหน่ายส้มโอในราคาที่เพิ่มขึ้นจากเดิม
– ผลผลิตส้มโอที่ได้มีคุณภาพมากขึ้น สามารถแก้ปัญหาหนอนเจาะผลส้มโอซึ่งเป็นปัญหา ที่สำคัญ มีสติกเกอร์ที่รับรองคุณภาพให้กับส้มโอที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ รวมถึงมีบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับส้มโอ
1.2 กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิตพืชเศรษฐกิจตามศักยภาพของพื้นที่
ประเด็นถ่ายทอดความรู้
– ถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดให้กับสมาชิกกลุ่ม และจัดทำเวทีเพื่อสร้างเครือข่ายด้านการตลาดส้มโอปูโกเมาะมาวี
– นำตัวแทนเกษตรกรไปจำหน่ายผลผลิตส้มโอปูโก ในงานเทศกาลผลไม้ภาคใต้อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อสร้างเครือข่ายด้านการตลาด
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
– จัดตั้งเครือข่ายเกษตรกรส้มโอปูโกครบวงจรคุณภาพอำเภอยะรังได้ 30 กลุ่ม
– คัดเลือกเกษตรกรต้นแบบ ได้ 20 ราย
– จัดตั้งหน่วยควบคุมคุณภาพส้มโอเมาะมาวี ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบผลผลิตของสมาชิกก่อนปิดสติกเกอร์รับรองคุณภาพ ซึ่งสนับสนุนโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ผลสำเร็จโครงการฯ
– จัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตส้มโอปูโกครบวงจรคุณภาพ
– จัดทำมาตรฐานส้มโอปูโกครบวงจรคุณภาพ
– จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อควบคุมคุณภาพส้มโอ
– มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพส้มโอ
– มีบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า
1.3 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชประจำถิ่น
ประเด็นถ่ายทอดความรู้
– การพัฒนาคุณภาพผลผลิต
– การแปรรูปส้มแขก ได้แก่ น้ำส้มแขก แยมส้มแขก ส้มแขกแช่อิ่ม
– สนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ พันธุ์ส้มแขก และปุ๋ย
– ดำเนินการถ่ายทอดความรู้เรื่องการตลาดให้กับสมาชิกกลุ่มเกษตรกรหลักสูตรการพัฒนาผลผลิตส้มแขกและผลิตภัณฑ์จากส้มแขก
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
– เกษตรกรสามารถจัดการดูแลส้มแขกให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
– เกษตรกรสามารถแปรรูปส้มแขกเพื่อเพิ่มมูลค่าได้
– สามารถขยายพื้นที่ปลูกส้มแขก เพื่อรองรับการแปรรูปส้มแขก ให้ทันกับความต้องการของตลาด
– เกิดกลุ่มแปรรูปส้มแขก จำนวน 17 กลุ่ม
– กลุ่มเกษตรกรมีความเข้าใจเรื่องตลาดส้มแขก การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จาก
ผลส้มแขก และมีวิสาหกิจชุมชนแปรรูปส้มแขกในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จำนวนกลุ่ม 3 กลุ่ม คือ 1) วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทรายขาว ม.3 ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 2) วิสาหกิจชุมชน
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรน้ำตกทรายขาว ม.5 ตำบลทรายขาว อำโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และ 3) วิสาหกิจชุมชน บ้านควนลังงา ม.4 ตำทรายขาว อำโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
แผนและแนวทางการส่งเสริมการดำเนินโครงการในปีต่อไป
– ส่งเสริมการปลูกส้มแขกและการจัดการดูแลส้มแขกให้ได้ผลผลิตคุณภาพ
– พัฒนากลุ่มแปรรูปส้มแขกที่มีการรวมกลุ่มใหม่จากการเข้าร่วมโครงการ ให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้หลากหลาย และน่าสนใจ
– ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายกลุ่มแปรรูปส้มแขกในพื้นที่ให้มีการเชื่อมโยงกันทั้งด้านการจัดการผลผลิตและการตลาด
– ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ส้มแขกในพื้นที่ให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้นและผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์จากส้มแขกได้ง่ายขึ้น เช่น การขายทางออนไลน์
1.4 กิจกรรมพัฒนาเกษตรกรต้นแบบให้มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ ดำเนินการสนับสนุนปัจจัยการผลิตสำหรับจัดทำฐานการเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบ ซึ่งสอดคล้องกับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตประจำตำบล โดยเป็นเรื่องยางพารา 8 ศูนย์ และข้าว 4 ศูนย์ เช่น ชุดนิทรรศการ วัสดุการเกษตร สำหรับแปลงเรียนรู้ อุปกรณ์สำหรับถ่ายทอดความรู้และดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับ อกม. ในพื้นที่เสริมสร้างความมั่นคงระดับ 1 จำนวน 10 ตำบล ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตระดับตำบล โดยมีเกษตรกรต้นแบบเป็นวิทยากร ดำเนินการแล้ว 250 ราย
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
– เกษตรกรต้นแบบสามารถพัฒนาศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สามารถเป็นวิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
– มีหลักสูตร/องค์ความรู้ในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่
– ศูนย์เรียนรู้ฯ ทั้ง 12 ศูนย์ มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้สนใจ
– อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน จำนวน 250 คน ได้รับการถ่ายทอดความรู้ตามหลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจ โดยเน้นการบริหารจัดการพื้นที่การผลิตที่ดี เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต และการลดต้นทุนการผลิต ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.5 กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการนำแนวคิดในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต ดำเนินการในพื้นที่หมู่บ้านเสริมสร้างสันติสุขพื้นที่เพื่อความมั่นคงระดับที่ 1 จำนวน 10 ตำบล 36 หมู่บ้าน เกษตรจำนวน 2,880 ราย ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
ประเด็นถ่ายทอดความรู้
วิเคราะห์ องค์ความรู้ แนวคิดจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เหมาะสมกับพื้นที่ มาจัดทำเป็นหลักสูตรโดยผนวกกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เกษตรกรสามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับครัวเรือน
– ปรับทัศนคติ และถ่ายทอดความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
– ทัศนศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เหมาะสมกับพื้นที่
– สนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านการเกษตรให้กับครัวเรือนต้นแบบ ตามความต้องการของเกษตรกรเพื่อจัดทำกิจกรรมเกษตรสมบูรณ์ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน
องค์ความรู้สำหรับสนับสนุนการประกอบอาชีพ เช่น
– การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
– การทำกิจกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้านพืช ประมง สัตว์
– เกษตรทฤษฎีใหม่
– การทำเกษตร 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน
องค์ความรู้สำหรับสนับสนุนการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน เช่น
– การเพาะถั่วงอกแบบพอเพียง
– การทำน้ำยาซักผ้าอเนกประสงค์
– การทำบัญชีครัวเรือน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เกษตรกรสามารถนำแนวคิดในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียงมาเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต โดยการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ คือ เกษตรกรสามารถทำการเกษตร แบบพอเพียง ปลูกผักกินเอง ลดการใช้ปุ๋ย สารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารสมุนไพรจากธรรมชาติ เมื่อเหลือจากการบริโภคในครัวเรือนสามรถจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้ และเกษตรกรสามารถจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ผลสำเร็จของกิจกรรม
เกษตรกรให้ความสนใจเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีการฝึกปฏิบัติ และทัศนศึกษาดูงาน จะมีการซักถามวิทยากรเป็นระยะๆ เกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตนำกลับไปปฏิบัติในครัวเรือน สามารถลดรายจ่ายให้กับครัวเรือนได้
- ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดปัตตานี ตามตัวชี้วัด (KPI) ของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ครบตามเป้าหมาย จำนวน 2,880 ราย
ตามระบบรายงาน E – PROJECT และมีการเบิกจ่ายในส่วนของงบประมาณโครงการแล้ว 79 เปอร์เซ็นต์[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”1/1″][/vc_column][/vc_row]